JavaScript เป็นหัวข้อที่นิยมมากที่สุดของ StackOverflow โดยตลอดด้วยการใช้งานทั้งหมดจำนวน 1 ล้าน 7 แสนครั้ง (2018)
ซึ่งถ้ามาดูในส่วนย่อยของ JavaScript ก็คือ Framework หรือ Library ก็จะเห็นความสัมพันธ์ดังนี้
2012
ในปีนี้ AngularJS ได้ปล่อยตัวเต็มในเดือนกันยายนหลังจากเปิดตัวเมื่อสองปีที่แล้ว
2013
หลังจาก AngularJS เปิดตัวความนิยมก็เพิ่มขึ้นเป็น ~0.9% จาก ~0.1% ในปีที่แล้ว และในเดือนพฤษภาคมปีนี้มีการเปิดตัว React ของ Facebook
2014
AngularJS ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเพิ่มขึ้นมาเกือบ 1.4% ภายในปีเดียว ทำให้ jQuery ที่ความนิยมเพิ่มขึ้นตลอดได้ลดลงไปเหลือ ~6.9% จากเดิม ~7.5% แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่ดี และในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้มีการเปิดตัว Vue.js
2015
ความนิยมของ AngularJS, React และ Vue.js เพิ่มขึ้นแต่ในฝั่ง jQeury นั้นลดลงไปเกือบ 1%
2016
อัตราการเติบโตเหมือนในปี 2015 แต่ในเดือนกันยายน AngularJS ได้ออกเวอร์ชั่นถัดไปคือ Angular หรือ Angular 2+ ทำให้อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 1%
2017
หลังจากการเปิดตัวของ Angular ในปีที่แล้วทำให้เป็นครั้งแรกที่ Angular อยู่อันดับสูงกว่า jQuery โดยความนิยมของ React และ Vue.js ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2018
จากผลสำรวจความพึงพอใจในปี 2017 React ได้รับความพึงพอใจมากกว่า Angular มากทำให้ในปีนี้ความนิยมของ Angular และ React เพิ่มขึ้นอย่างเท่าๆกัน Vue.js เติบโตขึ้นมากแต่จากที่ตัวอื่นยังได้รับความนิยมอยู่ทำให้ไม่ได้นิยมมากกว่าตัวใดตัวหนึ่ง
การเติบโตของ Python นั้นกระทบต่อ Java และ C++ มาก เพราะ Python นั้นสามารถเขียนได้ทั้งแบบ Procedural และ Object-Oriented
และเป็นภาษา High-level เรียนรู้ได้ง่าย และมี Library ให้เลือกใช้หลายหมื่นตัว เมื่อมาเทียบกับ Java และ C++ ที่อัตราของทั้งสองตัวนี้จะเติบโตเท่าๆกันแต่
Java จะสูงกว่าเสมอเนื่องจากการใช้งานที่ง่ายกว่าเพราะเป็นภาษา High-level แต่ก็ลดลงในเวลาต่อมาที่ Python ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะ Python
สามารถเขียนทั้งแบบ Procedural และ Object-Oriented ได้ ใช้งานได้หลากหลายกว่า และ Java ก็ยังมีปัญหาด้าน Backward-compatibility
ที่ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนเวอร์ชั่นแล้วต้องมาแก้ไขเพื่อให้้ใช้งานได้ต่อ
2011
ตั้งแต่ปี 2008 ทุกโปรแกรมเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้น Vim ที่มีข้อดีในการที่เป็น Keyboard-based ที่ใช้การกดแป้นพิมพ์ในการสั่งการทั้งหมดและสร้างโครสำหรับงานที่ทำซ้ำๆบ่อยๆได้ แต่ด้วยการที่เป็น Keyboard-based ทำให้ผู้ใช้ใหม่ๆเรียนรู้ได้ยาก ประกอบกับการมีโปรแกรมอื่นๆเป็นตัวเลือกมากขึ้นเรื่อยๆทำให้ความนิยมนั้นลดลงไป
2012
Sublime Text เปิดตัวทีหลัง Notepad++ แต่ว่ามีการเติบโตที่ดีกว่าเพราะการใช้งานที่หลากหลายทั้งการที่สามารถใช้ได้ในทั้ง Windows, macOS และ Linux ต่างจาก Notepad++ ที่ใช้ได้ใน Windows เท่านั้น ประกอบกับการที่มีส่วนขยายมากกว่า เพราะส่วนขยายของ Sublime Text นั้นเขียนใน Python แต่ของ Notepad++ นั้นต้องเขียนใน C/C++ เท่านั้น
2015
ในปีนี้ได้มีการเปิดตัว Visual Studio Code ซึ่งได้รับความสนใจมากกว่าตัวอื่นๆตอนเปิดตัวอย่างมาก และทำให้ความนิยมของ Sublime Text ตกลงไปเพราะความเหนือกว่าของ Visual Studio Code ทั้งในด้านการสนับสนุนภาษาที่มากกว่า และมี Marketplace สำหรับเลือกดูส่วนขยายได้อย่างง่าย ซึ่งก็ดีกว่า Sublime Text ไปในเกือบทุกด้าน
2018
ความนิยมของ Visual Studio Code สูงกว่าโปรแกรมตัวอื่นอย่างมาก ทำให้ความนิยมตัวอื่นๆนั้นลดลงไปเรื่อยๆตามๆกัน แต่ในสำหรับตัว Atom ตั้งแต่เปิดตัวมาได้เติบโตมาตลอดไม่ได้มีการลดลงแต่อย่างไร
Eclipse เป็นหนึ่งใน Integrated Development Environment (IDE) ที่นิยมใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Android ในยุคก่อนๆ ซึ่งการเปิดตัวของ Android Studio ของ Google ซึ่งเป็น IDE ที่ทำมาเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่น Android โดยตรงมีผลกระทบต่อ Eclipse ดังนี้
2013
Google เปิดตัว Android Studio พร้อมกับตัวโปรแกรมเวอร์ชั่น Beta ทำให้ความสนใจใน Eclipse ลดลงไปเหลือ ~1.0% จากเดิม ~1.1%
2014
ในเดือนธันวาคม Android Studio ได้มีการปล่อยตัวเต็มเวอร์ชั่น 1.0 และ 1.0.1 ให้ใช้งานทำให้ความนิยมเพิ่มขึ้นจาก ~0.09% เป็น ~0.2% ซึ่งความนิยม Eclipse กลับไปอยู่ที่ ~1.01%
2015
หลังจากเปิดเวอร์ชั่นเต็ม Android Studio ไปในปลายปีที่แล้วทำให้ความนิยมก็เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดิม ~0.2% เป็น ~0.5% แต่กลับกันในฝั่งของ Eclipse ได้ลดลงอย่างมาก จาก ~1.1% ลงไปเหลือ ~0.7%
2016
ในปีนี้ Google ประกาศเลิกสนับสนุนส่วนเสริม Android Developer Tools สำหรับ Eclipse ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนา ทำให้เป็นครั้งแรกที่ความนิยมของ Android Studio สูงกว่า Eclipse โดยอยู่ที่ ~0.7% และ ~0.5% ตามลำดับ
และในปีถัดๆมาความนิยมของ Eclipse ก็ลดลงเรื่อยๆจนถึง ~0.4% ในปี 2018 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใช้ที่ใช้ Eclipse ในการพัฒนา Java
ในหัวข้อนี้เห็นได้ว่าทั้งสามระบบไม่ได้มีผลกระทบต่อกันอย่างชัดเจนตามช่วงเวลา ซึ่งสำหรับ Apache และ NGINX ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆแต่ Apache จะอยู่อันดับสูงกว่าเสมอ ถึงแม้ NGINX จะใช้ทรัพยากรน้อย แต่ Apache สามารถรอบรับหน้าเว็บแบบ Dynamic ที่เป็นแบบที่นิยมในปัจจุบันได้ดีกว่า รวมทั้งมีระบบ .htaccess ที่สามารถใช้ตั้งค่าแยกต่างหากได้อีก
สำหรับส่วนของ Internet Information Server (IIS) นั้นความนิยมลดลงมาตลอด เป็นเพราะ IIS นั้นลงได้กับระบบ Windows เท่านั้น การไม่เป็น Open-Source ของ Windows นั้นก็จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนระบบปฏิบัติการด้วย ซึ่งข้อดีของ IIS คือมี GUI ที่ทำให้ใช้งานง่าย แต่ GUI ก็เป็นข้อเสียด้วยเพราะการตั้งค่านั้นต้องทำผ่าน GUI ทั้งหมดซึ่งจะทำให้การทำงานยุ่งยากขึ้นมาอีก จึงเป็นผลให้ความนิยมของ IIS ลดลงมาเรื่อยๆ
2010
ตั้งแต่ปี 2008 ทั้งสามได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆตามปกติ ซึ่งความนิยมของ Drupal นั้นเกือบเท่า WordPress เลยทีเดียว
2011
WordPress และ Joomla เติบโตขึ้นแต่ไม่มาก แต่ความนิยม Drupal กลับลดลง เป็นเพราะในช่วงนั้นบริการเว็บไซต์สำเร็จรูปกำลังเป็นที่นิยม ทำให้เติบโตไม่มาก แต่ในส่วน Drupal ที่ลดลงเพราะเมื่อเทียบกับอีกสองตัวแล้วการใช้งานยากกว่าเพราะ Drupal เหมาะกับผู้พัฒนามากกว่าผู้ใช้ทั่วไป
2017
ตั้งแต่ปี 2011 การเติบโตของ WordPress นั้นเพิ่มขึ้นไปมากเพราะการที่ใช้งานง่าย และรองรับอุปกรณ์ได้หลายประเภท และส่วนของ Joomla นั้นลดลงเรื่อยๆเนื่องจากความที่ใช้งานไม่ได้ง่ายเหมือน WordPress แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับผู้พัฒนาเหมือน Drupal ด้วย
2018
Drupal ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่ที่ทำให้การใช้งานนั้นง่ายขึ้นทำให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว และอยู่อันดับสูงกว่า Joomla เล็กน้อย